วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดร้อยเอ็ด

วนอุทยานถ้ำผาน้ำทิพย์

สถานที่ตั้ง
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา) มูลเหตุในการก่อตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มาเจริญสมถกัมมัฎฐา่นเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่าผาน้ำย้อย เพราะภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตกจากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ ตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทางราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความสงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นการถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความตรึงเครียด้ทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นในขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น
เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง 2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร 3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป 4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร 5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร 6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง 7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง 8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง 9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง 10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง 11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง 12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม. 13. สร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ 14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา เจดีย์ชัยมงคล 15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก 16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา น้ำย้อย 1 ตำหนัก 17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง 18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
http://www.roiet.go.th/visit101/panumyoy.html
http://www.tourinthai.com/sitetravel/travel-detail.php?travel_id=619
http://www.patumwan.info/community/index.php?topic=164.0

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์เป็นหน่วยงาน ราชการที่สังกัดกระทรวงป่ไมกระทรวงเกษตร และ สหกรณ์ มีพื้นที่ประมาณ 151,242 ไร่ หรือประมาณ242 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงบังอี่ บางส่วนในท้องที่ อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด อ.กฉินารายณ์, อ.คำชะอี, อ.นิคมคำสร้อย, อ.หนองสูง และ อ.เมือง จ.มุกดาหาร เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผา น้ำทิพย์ นับว่ามีความสำคัญด้านนิเวศน์วิทยา มีความ หลากหลายด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นป่าต้นน้ำลำธารหลายสายที่หล่อเลี้ยง ชีวิตราษฎรใน จ.ร้อยเอ็ด จ.มุกดาหาร และ จ.กาฬสินธุ์ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ตั้งอยู่ในท้องที่ อ.บึงงาม อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด มีหน่วยพิทักษ์ป่า ที่ตั้งอยู่รอบแนวเขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ 4 หน่วย
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปา่นกลาง 200-600 เมตร ประกอบก้วยป่าดงดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็ง รัง ซึ่งสภาพป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ภาพทิวทัศน์บริเวณผาหมอกมิวาย สัตว์ป่า ที่พบในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าผาน้ำทิพย์ มีหลายประเภท แบ่งได้ ดังนี้
1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น หมู่ป่า, เก้ง, ลิง, สุนัขจิ้งจอก, อีเห็น, กระรอก, กระแต ฯลฯ
2. สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งูจงอาง, งูเหลือม, งูเห่า, งูเขียว ฯลฯ
3. สัตว์ปีก เช่น เหยี่ยว, นกบั้งรอกใหญ่, นกโพ ระดก, นกปรอดเหลืองหัวจุก และนกอพยพหนีหนาวมา จุดชมวิวผาหมอกวิวายจากไซบีเรียทางตอนเหนือของประเทศจีน พรรณไม้ เนื่องจากสภาพป่าในเขตห้าล่าพันธ์สัตว์ป่าถ้ำ ผาน้ำทิพย์ ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้ทางเศรษฐกิจ จึงยังคงมีอยู่มาก เช่น
ตะเคียน พยัง มะค่าโมง ลูกดิ่ง รวมทั้งสมุนไพร เส้นทางเดินทาง จากร้อยเอ็ด ใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 ร้อยเอ็ด-โพนทอง และต่อไปตามทางหลวงหมาย เลข 2136 โพนทอง-หนองพอก แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 2 จากหองพอก-บ้านท่าสะอาด ระยะทาง 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายจากบ้านท่าสะอาด ถึงสำนักงานเขตห้าม ล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ระยะทาง 13 กิโลเมตร

http://touronthai.com/gallery/placeview.php?place_id=53000004
http://www.dnp.go.th/Khonkaen/wildlife/pha_nt.html
http://www.roiet.go.th/visit101/khatham.html

วัดสระทอง

ตามประวัติความเป็นมาของวัดสระทอง เดิมมีชื่อว่า “วัดศรีมงคล” จากหลักฐานก็คือมีชื่อเกี่ยวกับการตั้งโรงเรียนขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ดครั้งแรก เมื่อปีพุทธศักราช 2543 ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดศรีมงคล เปิดสอนหนังสือแก่เด็กนักเรียน โดยมีพระภิกษุสามเณรในวัดศรีมงคลเป็นครูสอน เท่าที่มีชื่อปรากฏก็คือพระครูวินัยธรรส พระภิกษุสิงห์ สุวรรณบล พระภิกษุพิมพ์ สุวรรณบล และสามเณรผ่อง จรัสฉาย ขณะนั้นมีนักเรียน 20 คน วิชาที่สอนได้แก่ วิชาภาษาไทย และเลขคณิต สถานที่สอนใช้วิหารหลวงพ่อสังกัจจายน์ ต่อมาพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงธรรมการสมัยนั้นได้ให้จังหวัดต่าง ๆ ตั้งโรงเรียนรัฐบาลขึ้นเพื่อให้การศึกษาแก่กุลบุตรกุลธิดา จึงส่งราชบุรุษจันทร์ อุตตมพรหม ขั้นมาเป็นครูคนแรกของจังหวัดร้อยเอ็ดและได้ไปสอนโรงเรียนวัดศรีมงคลโดยยกฐานะโรงเรียนขึ้นเป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัด เพราะเห็นว่าเป็นโรงเรียนที่มีครูและนักเรียนอยู่แล้ว ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2456 กระทรวงธรรมการได้ส่ง นายแม้น โปรานนท์ นายอยู่ สิทธิชัย มาเป็นครูสอนเพิ่มขึ้นอีก ชั้นเรียนที่เปิดสอนมีชั้นมูลประถมปีที่1,2,3 และชั้นประถมปีที่ 1,2,3 ในปีนี้ทางสมุหเทศบาลมณฑลร้อยเอ็ด คืออำมาตย์ตรี ม.จ.ธำรงศิริ ศรีธวัช ทรงเห็นว่าโรงเรียนวัดศรีมงคลสถานที่คับแคบไม่เพียงพอสำหรับจำนวนที่เพิ่มขึ้นและสถานที่วัดก็ขยายให้กว้างขวางได้ยากมาก จึงได้ย้ายโรงเรียนมาเรียนที่ว่าการอำเภอเมืองเก่า ณ ริมคูเมือง จึงเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยปัจจุบันนี้ วัดสระทองที่เปลี่ยนชื่อจาก “วัดศรีมงคล” ตั้งแต่เมื่อใดนั้นสันนิฐานกันว่าคงจะเปลี่ยนหลังจากย้ายโรงเรียนไปจากวัด ที่เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสระทอง คงจะเป็นการเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานที่ตั้งวัด เพราะที่ตั้งวัดสระทองชาวบ้านเรียกสระในวัดว่าสระทอง ในตัวเมืองร้อยเอ็ดมีสระชื่อต่าง ๆ หลายสระ เช่น สระทอง สระแก้ว สระดู่ สระสิม สระขวาง สระบัว ปัจจุบันสระต่าง ๆ ชาวบ้านก็ยังเรียนขานกันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำในสระทอง สระแก้ว ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ในราชพิธีต่าง ๆ ทางราชการก็ได้นำน้ำจากสระดังกล่าวนี้ไปทำพิธีเพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล

กู่พระโกนา

กู่พระโกนา ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 2 ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ การเดินทาง จากจังหวัดร้อยเอ็ดเดินทางตามทางหลวงสาย 215 ผ่านอำเภอเมืองสรวง แล้วเข้าสาย 202 ผ่าน อ.สุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสาย214 ไปประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงกู่พระโกนา ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากตัวจังหวัดปัจจุบันมีวัดสร้างอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีถนนเป็นทางแยกเข้าไป ทางด้านซ้ายมือ ด้านหน้าจะเป็นสวนยางกู่พระโกนาประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 องค์ บนฐานศิลาทรายเรียงจากเหนือ – ใต้ทั้งหมดหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก มีกำแพงล้อม และซุ้มประตูเข้า – ออกทั้งปรางค์องค์ กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับ และก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลางชั้นล่างสร้างเป็นวิหาร พระพุทธบาท ประดับเศียรนาค 6 เศียร ของเดิมไว้ด้านหน้าส่วน ปรางค์อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทางวัด เช่นกัน แต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง
์ปรางค์องค์กลางถูกดัดแปลงเมื่อ พ.ศ. 2471 โดยการฉาบปูนทับและก่อขึ้นเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีซุ้มพระทั้ง 4 ทิศ หน้าปรางค์องค์กลาง ชั้นล่าง สร้างเป็นวิหาร มีพระพุทธบาทประดับ เศียรนาค 6 เศียรของเดิมไว้ด้านหน้า ส่วนปรางค์ อีก 2 องค์ ก็ได้รับการบูรณะจากทาง วัดเช่นกันแต่ไม่ถึงกับเปลี่ยนรูปทรงอย่างปรางค์องค์กลาง ปรางค์องค์ทิศเหนือ ทางวัดสร้างศาลาครอบ ภายในมีหน้า บันสลักรามายณะและประทับสลัก ภาพพระนารายณ์บรรทมสินธุ์อยู่ที่เดิมคือเหนือประตูทาง ด้านหน้า ส่วนทับหลังประตูด้านทิศตะวันตก หล่นอยู่บน พื้นเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑปรางค์องค์ทิศใต้ยังคงมีทับหลังของเดิมเหนือประตูหลอกด้านทิศเหนือเป็นภาพเทวดานั่งชันเข่า ในซื้อเรือนแก้วเหนือหน้ากาลนอกจากนี้ ทางด้านหน้ายังมีทับหลังหล่นที่พื้นเป็นภาพพระอิศวรประทับนั่งบนหลังโคและมีเสานางเรียงวางอยู่ด้วย สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาเดิมคงจะมีสะพานนาคและทาง เดินประทับเสานางเรียงทอดต่อจากซุ้มประตูหน้าไปยัง สระน้ำหรือบาราย ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร จากรูปแบบลักษณะทางศิลปกรรมทั้งหมดของภาพสลัก และเสากรอบประตู ซึ่งเป็นศิลปะขอม ที่มีอายุในราว พ.ศ. 1560-1630 (แบบปาปวน) สันนิษฐานว่ากู่พระโกนาคงจะสร้างขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 16

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด เป็นสวนสาธารณะกลางเมือง อยู่หน้าศาลากลางจังหวัด เปิดเมื่อปี พ.ศ. 2529 มีเนื้อที่ประมาณ 225 ไร่ ตกแต่งบริเวณ ด้วยไม้ดอกไม้ประดับ และต้นไม้นานาพรรณ จุดเด่นของสวนแห่งนี้อยู่ที่น้ำพุบริเวณใจกลางสวนที่พุ่งฉีดในระดับสูง หอ นาฬิกากลางเมืองสีขาวสวยเดินเป็นสง่าแก่เมืองร้อยเอ็ด มีอาคารอ่านหนังสือไว้สำหรับบริการประชาชน สถานที่แห่งนี้ใช้ เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและพิธีการต่าง ๆ ของจังหวัด

สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ

สถานที่แสดงพันธ์สัตว์น้ำตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรเทพ(หน้าวัดบึงพระลานชัย) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง เป็นอาคาร 2 อาคารเชื่อมต่อกันอาคารแรกประกอบด้วยห้องโถง ห้องบรรยายห้องนิทรรศการ สำนักงาน ห้องจำหน่ายบัตรและของที่ระลึก ส่วนอาคารที่ 2 เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็น ส่วนแสดงพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วยตู้ปลาขนาดเล็กที่ ฝังอยู่ในผนังรอบ ๆ อาคาร จำนวน 24 ตู้ กลางอาคาร เป็นตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตรสับเปลี่ยนหมุนเวียนกับตู้แสดงพันธุ์สัตว์น้ำที่ป่วย ด้านนอกของตัวอาคารจะมีการจัดภูมิทัศน์ให้เหมาะสมแก่ตัวอาคาร โดยจัดเป็นสวนหย่อมและปลูกไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบของตัวอาคาร พร้อมทั้งจัดให้ ้มีลานจอดรถสำหรับผู้เข้าชมอีก 2 จุด มีอุโมงค์แก้ว ผ่านกลางตู้สำหรับให้ผู้เข้าชมเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ชั้นบนของ้อาคารเป็นบ่อพักน้ำ ถังกรองน้ำบ่อพัก และสำรองพันธุ์สัตว์น้ำไว้สำหรับสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดนี้เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น.อัตราค่าเข้าชม เด็ก 5 บาท ผู้ใหญ่ 10 บาท และชาวต่างประเทศ 30 บาท